Fri. Nov 22nd, 2024

อัปเดต! สถานการณ์สตรีไทย รับ "วันสตรีสากล" ยังเผชิญความรุนแรงสูง-มีส่วนร่วมตัดสินใจน้…

8 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวันสตรีสากล (International women’s day) โดยจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิง ซึ่งในวันนี้จะมีผู้หญิงจากหลายประเทศทั่วโลกรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลองเนื่องในวันสตรีสากล อย่างไรก็ตามสัดส่วนในประชากรไทยตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค.66 ระบุให้เห็นว่า ประชากรผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย โดยมีทั้งหมด 33,828,607 คน คิดเป็น 51.21% ของจำนวนประชากรไทย เรื่องของผู้หญิงจึงสำคัญเช่นกัน

 อัปเดต! สถานการณ์สตรีไทย รับ "วันสตรีสากล" ยังเผชิญความรุนแรงสูง-มีส่วนร่วมตัดสินใจน้...

8 มีนาคม “วันสตรีสากล” รำลึกการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียมของผู้หญิง คำพูดจาก สล็อตวอเลท

ปักหมุด 8 มีนาคม จัดงาน “วันสตรีสากล” ทั่วประเทศ

วันสตรีสากล แรงงานหญิงยื่นขอเพิ่มวันลาคลอด-หยุดวันมีประจำเดือน

จึงอยากชวนมาเช็กกันว่า ปัจจุบันสตรีไทยมีบทบาททางสังคมอย่างไรบ้าง มากเพียงใด ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้เรียบเรียงข้อมูลจากกรมกิจการสตรีและครอบครัวที่อัปเดตล่าสุดในปี 2567 มาฝากกัน

สตรีกับเศรษฐกิจ

ตามข้อมูลพื้นฐานของหัวหน้าครัวเรือนปี 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือนมากถึง 41.1% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี นอกจากนั้นยังมีการสำรวจผู้หญิงกับการทำงานในด้านต่าง ๆ ไว้ดังนี้

ผู้หญิงกับการทำงานด้านภาคอุตสาหกรรม

สถิติแรงงานประจำปี 2565 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน พบว่า มีผู้หญิง ทำงานด้านภาคอุตสหกรรมทั้งหมด 18,363,080 คน แบ่งออกได้เป็น

  • กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม กรมป่าไม้และการประมง มีผู้หญิงทำงานด้านนี้ 5,123,500 คน
  • กลุ่มอาชีพการขายส่ง การค้าปลีก และการซ่อมรถยนต์ มีผู้หญิงทำงานด้านนี้ 3,505,000 คน
  • กลุ่มอาชีพการผลิต มีผู้หญิงทำงานด้านนี้ 3,027,700 คน
  • และด้านอื่น ๆ ในภาคอุตสาหกรรม มีผู้หญิงทำงานทั้งหมด 6,706,880 คน

ผู้หญิงกับธุรกิจสตาร์ทอัพ

จากข้อมูลของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกกรมแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2559 มีผู้หญิงทำงานธุรกิจสตาร์ทอัพคิดเป็น 6.7% ส่วนผู้ชายคิดเป็น 93.3%

และในปี 2561 มีผู้หญิงทำงานธุรกิจสตาร์ทอัพคิดเป็น 18.36% และผู้ชายคิดเป็น 81.64% จะเห็นได้ว่าผู้หญิงไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในการทำงานด้านธุรกิจสตาร์ทอัพแต่ยังคงน้อยกว่าผู้ชายอยู่ดี

สตรีกับอำนาจและการตัดสินใจ

จากการสำรวจในหลายภาคส่วนจะพบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของผู้หญิงยังคงมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ชายในทุกระดับ โดยยกตัวอย่างได้ดังนี้

ด้านการเมือง

จากข้อมูลของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปี 2566 ระบุว่า ผู้หญิงมีบทบาททางด้านการเมืองน้อยกว่าผู้ชายในทุกตำแหน่ง โดยแบ่งออกได้เป็นดังนี้

  • คณะรัฐมนตรี มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งเพียง 5 คน คิดเป็น 14.70% ในขณะผู้ชายมีมากถึง 29 คน คิดเป็น 85.29%
  • สมาชิกผู้แทนราษฎร มีผู้หญิงดำรงตำแหน่ง 96 คน คิดเป็น 19.20% ในขณะผู้ชายมีมากถึง 404 คน คิดเป็น 85.29%
  • สมาชิกวุฒิสภา มีผู้หญิงดำรงตำแหน่ง 26 คน คิดเป็น 10.40% ในขณะผู้ชายมีมากถึง 224 คน คิดเป็น 89.60%

ด้านภาคธุรกิจ

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3 : กรกฎาคม – กันยายน ปี 2566 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในภาคธุกิจ สามารถแบ่งสัดส่วนการทำงานของผู้หญิงและผู้ชายได้เป็นดังนี้

  • การเป็นนายจ้าง ระบุว่า ผู้หญิงเป็นนายจ้าง 250,800 คน คิดเป็น 27.72% ในขณะที่ผู้ชายเป็นนายจ้างถึง 653,900 คนคิดเป็น 72.28%
  • การเป็นลูกจ้างเอกชน ระบุว่า ผู้หญิงเป็นลูกจ้างเอกชน 8,255,600 คน คิดเป็น 39.72% ในขณะที่ผู้ชายเป็นลูกจ้างเอกชนถึง 7,024,900 คน คิดเป็น 45.97%
  • การทำงานส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ระบุว่า ผู้หญิงทำงานส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง 5,496,800 คน คิดเป็น 39.72% ในขณะที่ผู้ชายทำงานส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างถึง 8,342,900 คน คิดเป็น 60.28%
  • การทำงานเพื่อช่วยธุรกิจในครัวเรือน ระบุว่า ผู้หญิงทำงานช่วยธุรกิจในครัวเรือน 3,949,300 คน คิดเป็น 60.65% ในขณะที่ผู้ชายทำงานส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง 2,561,800 คน คิดเป็น 39.35%

สตรีและสุขภาพอนามัย

ผลสำรวจประชากรของประเทศปี 2566 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงจะอยู่ที่ 79.9 ปี ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของผู้ชายจะอยู่ที่ 71.9 ปี แต่หากดูข้อมูลจากกระทรวงสาธารณะสุขปี 2566 จะพบว่า ผู้หญิงมีอัตราการป่วยด้วยโรคทั้งหมด 17,391,201 คน ในขณะที่ผู้ชายพบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคเพียง 11,105,382 คน ถึงอายุเฉลี่ยของผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชายแต่ในอัตราการป่วยก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน

ด้านความรุนแรงต่อสตรี

ทางกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2566 ระบุว่า พบผู้ที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่มาเข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ เฉลี่ยแล้วจำนวน 34 ราย/วัน จากจำนวนทั้งสิ้น 12,517 ราย

และในจำนวนนี้พบว่า ผู้ถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุดเป็นผู้หญิง มีจำนวนมากถึง 11,183 ราย หรือคิดเป็น 89.34%

สตรีกับการศึกษา

ข้อมูลจากโครงการสำรวจสถาการณ์ฯ เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระบุว่า อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจปี 2562 และปี 2565 พบว่า

ปี 2562 ผู้หญิงมีอัตราการรู้หนังสือ 93.7% ส่วนผู้ชายอยู่ที่ 94.1%

ปี 2565 ผู้หญิงมีอัตราการรู้หนังสือเพิ่มมากขึ้นเป็น 94.6% ส่วนผู้ชายอยู่ที่ 94%

ระดับอุดมศึกษา

ผลการสำรวจจำนวนนักศึกษา โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า ปีการศึกษา 2566 ในภาคเรียนที่ 1 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดมีจำนวนนักศึกษาหญิงถึง 949,931 คน คิดเป็น 59.76% ขณะที่นักศึกษาชายมีจำนวน 639,595 คน คิดเป็น 40.24%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :เฟซบุ๊ก กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

8 มีนาคม “วันสตรีสากล” รำลึกการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียมของผู้หญิง

แฟนการ์ตูนอาลัย “โทริยามะ อากิระ” ผู้สร้าง “ดราก้อนบอล” เสียชีวิตแล้ว

ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 7 ฝนจ่อถล่มไทยหลายพื้นที่

By admin

Related Post