Wed. Oct 16th, 2024

แทบละลาย! "บังกลาเทศ" เผชิญอากาศร้อนสุดในรอบ 60 ปี

อากาศที่แสนร้อนระอุจนปรอทแทบแตกไปทั่วทั้งทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุณหภูมิพุ่งสูงทุบสถิติ โดยสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันพุธ(19 เมษายน) ที่ผ่านมาว่าอุณหภูมิในบังกลาเทศสูงสุดในรอบกว่า 60 ปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่สำนักข่าวท้องถิ่นในอินเดียและไทยพบคนเสียชีวิตจากลมแดดหรือฮีตสโตรก 13 รายและ 2 รายตามลำดับนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าผลจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นทำให้สภาพอากาศแปรปรวน

ร้อนจะตายอยู่แล้ว! มาทำความรู้จัก “ดัชนีความร้อน” คืออะไร ?

เช็ก! ดัชนีความร้อนรายวันช่วง 21-23 เม.ย.นี้ อุณหภูมิสูงสุด 54 องศา

โดยรายงานฉบับล่าสุดจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเตือนว่าทุกๆ ครั้งที่โลกร้อนขึ้น ภัยอันตรายก็จะเพิ่มขึ้นทวีคูณ

มิกาโกะ นิโชลส์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทยบอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่าเธออาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ มา 5 ปีแล้วและพบว่าทุกปีที่นี่อากาศร้อนขึ้น แต่ทว่าในปีนี้ร้อนมากที่สุดตั้งแต่ที่เธอเคยเจอมา ฉะนั้น การพยายามอยู่แต่ในที่ร่มจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยรายงานสภาพอากาศในประเทศไทยเมื่อวันพุธ (19 เมษายน) ที่ผ่านมาว่าอุณหภูมิในจังหวัดตาก ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย พุ่งสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียสเมื่อวันเสาร์ที่ 15 เมษายน โดยอุณหภูมินี้สูงสุดทุบสถิติและได้ออกคำเตือนว่าทั่วทั้งจังหวัดจะยังคงต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดต่อไปอีกสัปดาห์

นายธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่มนุษย์นั้นคือสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าเดิม ทั้งนี้ โดยปกติแล้วสภาพอากาศในประเทศไทยจะร้อนไปจนถึงช่วงฤดูฝน แต่ในช่วงเวลานี้กลับพบว่าพระอาทิตย์อยู่ยาวนานขึ้นและมีอานุภาพแข็งแกร่งมากกว่าเดิม

ในขณะที่ฟาฮัด ซาอีด นักวิทยาศาสตร์และหัวหน้าสถาบันวิเคราะห์นโยบายสภาพภูมิอากาศประจำภูมิภาคระบุว่าปีนี้ทั้งไทย จีน และประเทศในแถบเอเชียใต้จะเผชิญกับความร้อนทุบสถิติ และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและขยายวงกว้างไปสู่ประชาคมโลกต่อไปจากนี้ ซึ่งเขายังพูดถึงอากาศร้อนที่กระทบต่อคนยากจนในปากีสถานที่เข้าไม่ถึงพื้นที่ที่มีอากาศเย็นหรือที่หลบแดดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และอาจทำให้พวกเขาเหล่านั้นตายเพราะอากาศที่ร้อนจัด

ส่วนสำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (19 เมษายน) ว่าเมืองตามูที่อยู่ในภูมิภาคสะกายของเมียนมาร์ เผชิญ “วันที่ร้อนที่สุด” ในรอบ 44 ปี โดยกรมอุตุนิยมวิทยาของเมียนมาร์รายงานว่าวัดอุณหภูมิในพื้นที่นี้ได้สูงถึง 43.8 องศาเซลเซียส

ประชาชนร้องขอฟ้าให้ฝนตก ช่วยดับความร้อน

เมื่ออากาศที่ร้อนจัดทำให้หลายคนภาวนาขอให้ฝนตกลงมาดับความร้อน อย่างในกรุงธากาของบังกลาเทศที่ซึ่งวัดอุณหภูมิได้ถึง 40.6 องศาเซลเซียสในสัปดาห์นี้ ซึ่งสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมาตั้งแต่ช่วงปี 1960

สำนักข่าวท้องถิ่น Dhaka Tribune รายงานภาพของประชาชนในกรุงธากาที่ออกมารวมตัวกัน ขณะที่อาบูล คาลาม อาซาด ผู้บัญชาการตำรวจท้องถิ่นบอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่าพวกเขากำลังภาวนาขอฟ้าให้เสกฝนให้ตกลงมาดับความร้อน

ในขณะที่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (20 เมษายน) ทางการบังกลาเทศมีคำสั่งให้หน่วยงานที่ดูแลด้านพลังงานทำการปิดการจ่ายไฟฟ้าในหลายพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ระบบจ่ายไฟไม่สามารถรองรับการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากจากประชาชนได้ ซึ่งในช่วงใกล้สิ้นสุดเทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ประชาชนจะมีการใช้ไฟเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเชิงพาณิชย์ โดยจากการตัดไฟนี้ทำให้ประชาชนในบังกลาเทศต้องอยู่แบบไม่มีไฟฟ้าใช้หลายล้านคน

บังกลาเทศ นับเป็นประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก ก่อนหน้านี้ประเทศเผชิญกับฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจนทำให้น้ำท่วมสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย อากาศที่ร้อนจัดทำให้มีคนเสียชีวิตจากฮีตสโตรกหรือลมแดดกว่า 13 รายในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศเมื่อวันอาทิตย์ (16 เมษายน) ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานด้านสภาพภูมิอากาศของอินเดียบอกกับประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือและตะวันออกให้รับมือกับอุณหภูมิที่จะเพิ่มขึ้นมาประมาณ 3-4 องศาเซลเซียส

เมืองกูวาฮาติ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดอย่างมาก จนมีคำเตือนจากโรงเรียนหลายแห่งไปยังผู้ปกครองว่าอย่าเพิ่งส่งลูกหลานไปโรงเรียน ซึ่งโดยปกติแล้วช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคมของทุกปีจะมีฝนตกลงมาในแถบนี้ แต่ปีนี้กลับพบว่าไม่มีน้ำฝนตกลงมาสักหยด

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 เมษายน) นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus ซึ่งเป็นองค์กรของสหภาพยุโรปที่คอยสังเกตการณ์ความเป็นไปด้านธรรมชาติของโลกระบุว่าโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันคือปัญหาในปัจจุบันที่เราทุกคนต้องปรับตัวและโลกต่อจากนี้จะต้องรับมือกับการกลับมาของปรากฏการณ์เอลนีโญอีกครั้งในปีนี้ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น

ทั้งนี้ เอลนีโญเป็นปรากฎการณ์การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยลมจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกจะพัดไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและตามบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ทาง EU Copernicus ยังไม่ได้ระบุว่าช่วงเวลาไหนกันแน่ที่จะเกิดเอลนีโญในปีนี้คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม

 แทบละลาย! "บังกลาเทศ" เผชิญอากาศร้อนสุดในรอบ 60 ปี

By admin

Related Post