เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียต้องเผชิญกับฝุ่นและสภาพอากาศเป็นพิษต่อเนื่องหลายวัน จนรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมประจำเมืองกล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาการทำฝนเทียม เพื่อลดระดับมลพิษ
แผนดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพิจารณาและอนุมัติจากศาลฎีกาของอินเดีย และอาจรวมถึงกระทรวงต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางด้วย ทำให้กว่าโครงการดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ได้จริงอาจต้องรอถึงปลายเดือนนี้ ซึ่งต้องรอดูว่า ณ เวลานั้นปัญหาฝุ่นจะทุเลาลงหรือยัง
จุดพลุ-ประทัดฉลอง “เทศกาลดิวาลี” ทำค่ามลพิษฝุ่นอินเดียพุ่ง
กรุงนิวเดลีเตรียมจำกัดใช้รถยนต์ 1 สัปดาห์ หวังคุมมลพิษ
กรุงนิวเดลี เผชิญวิกฤติฝุ่นพิษ PM2.5 พุ่งสูงกว่าระดับร้ายแรง 2 เท่า! คำพูดจาก สล็อตออนไลน์
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเสนอให้แก้ปัญหามลพิษทางอากาศในนิวเดลีด้วยฝนเทียม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า นี่เป็นโครงการที่ซับซ้อนและมีราคาแพง แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพในการต่อสู้กับปัญหาฝุ่นอย่างสมบูรณ์ และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ของเมืองนิวเดลีอยู่ในระดับทะลุ 450 อย่างต่อเนื่อง หรือเกือบ 10 เท่าของเกณฑ์ความปลอดภัย แต่หลังจากฝนตกตามธรรมชาติช่วงสั้น ๆ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ทำให้มลพิษลดลงพอสมควร
แต่คุณภาพอากาศก็กลับมาเป็นอันตรายอีกครั้งในวันจันทร์ (13 พ.ย.) หลังจากผู้คนจุดพลุและประทัดเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลี
มลพิษฝุ่นเป็นปัญหาตลอดทั้งปีในนิวเดลี เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การปล่อยมลพิษและฝุ่นจากยานพาหนะและอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่อากาศในเมืองกลับเป็นพิษเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากเกษตรกรในรัฐใกล้เคียงมักเผาเศษพืชผล และความเร็วลมที่ต่ำทำให้เกิดมลพิษที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น
ทางการนิวเดลีได้ประกาศให้โรงเรียนปิดเทอมฤดูหนาวก่อนกำหนดและสั่งห้ามกิจกรรมการก่อสร้าง และหวังว่าศาลฎีกาซึ่งกำลังรับฟังคำร้องที่เกี่ยวข้องกับอากาศพิษของกรุงเดลี จะอนุมัติโครงการฝนเทียม
แผนฝนเทีบมได้รับการยื่นโดยนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย (IIT) คานปูร์ โดยตามแผนแล้ว โครงการจะดำเนินในสองระยะ ระยะแรกครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ดำเนินการในวันที่ 20 และ 21 พฤศจิกายน เนื่องจากสภาพอากาศจะเหมาะสมที่สุดในขณะนั้น
มนินทรา อากราวัล นักวิทยาศาสตร์ผู้นำโครงการนี้ กล่าวว่า แม้ว่าพวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าเมฆฝนเทียมจะมากพอที่จะปกคลุมกรุงนิวเดลีได้อย่างเต็มที่ แต่สัก 200-300 กิโลเมตรก็น่าจะดีพอสมควรแล้ว
เหตุผลก็คือปริมาณน้ำฝนอาจช่วยชะล้างฝุ่นละอองในบรรยากาศ ทำให้อากาศสะอาดขึ้นและระบายอากาศได้ดีขึ้น เหมือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากฝนตกช่วงสั้น ๆ ในวันศุกร์และวันเสาร์ที่ทำให้ระดับมลพิษลดลง
แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าฝนเทียมจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
โพลาช มูเคอร์จี นักวิจัยอิสระด้านคุณภาพอากาศและสุขภาพ กล่าวว่า ประเทศอื่น ๆ เคยนำฝนเทียมมาใช้เพื่อจัดการปัญหาคุณภาพอากาศและขจัดมลพิษฝุ่นก็จริง แต่มันช่วยได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น
“หากคุณดูผลกระทบของปริมาณน้ำฝนที่มีต่อคุณภาพอากาศ ระดับมลพิษจะลดลงทันที แต่ระดับจะคงที่และดีดกลับมาสูงภายใน 48-72 ชั่วโมง การทำฝนเทียมมีราคาแพงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่หายากเพื่อผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอนหรือผลที่ยั่งยืน” เขากล่าว
มูเคอร์จีเสริมว่า จะต้องเป็นเรื่องของระดับนโยบายที่ไตร่ตรองและหารือกัน “มันไม่สามารถเป็นการตัดสินใจเฉพาะกิจได้ คุณต้องมีชุดระเบียบการและทีมงานจากหลากหลายวิชาชีพที่จัดทำระเบียบการเหล่านั้น รวมถึงนักอุตุนิยมวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายคุณภาพอากาศ นักระบาดวิทยา ฯลฯ”
เรียบเรียงจาก BBC
ภาพจาก Money SHARMA / AFP
ซูเปอร์คอมทำนายแชมป์พรีเมียร์ลีก พร้อม 20 อันดับ สเปอร์ส หลุดยาว
ครม.ไฟเขียวจ่ายเงินชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่
"ชิกิต้า" (CHIQUITA) เด็กไทยมาแล้ว! ทีเซอร์แรก BABYMONSTER นับถอยหลังเดบิวต์