เวที พีพีทีวี ดีเบต ครั้งที่ 2 เลือกตั้ง’66 ฟังเสียงคนไทย “ตอน : ฝ่าวิกฤต ประเทศไทย” เปิดเวทีกุนซือ 7 พรรคการเมือง แสดงจุดยืนต่อประเด็นร้อนมาตรา 112
โดยเมื่อถามถึงจุดยืนการไม่แก้ไข มาตรา 112 โดยเด็ดขาด พบว่ามีตัวแทน 4 พรรคที่ยกมืดแสดงจุดยืนเรื่องนี้ คือ เกียรติ สิทธีอมร กรรมการนโยบายเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์, วิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ, สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ และอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า
7 พรรคร่วมเวทีดีเบต PPTV ประชันวิสัยทัศน์ จุดยืนรัฐบาลต่อสงครามรัสเซีย-ยูเครน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
"ชูวิทย์" แจ้งจับ "หยู ซิน ฉี" ผิด ม.112 พฤติกรรม “แอบอ้างเบื้องสูง – จัดตั้งสมาคมเก๊”
ก่อนจะเปิดประเด็นร้อนโดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล โดยแสดงความคิดเห็นว่า พรรคก้าวไกลเสนอแก้ มาตรา 112 ตั้งแต่ปี 2564 แล้ว ส่วนพรรคที่ร่วมรัฐบาลต้องเสนอ 112 หรือไม่ คิดว่าการแก้กฎหมายต้องเสนอในสภา พรรคก้าวไกลยืนยันไม่ว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็จะเสนอแก้ไข มาตรา 112 ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการร่วมรัฐบาล แต่ก็เป็นเงื่อนไขร่วมรัฐบาล ว่าหากจะร่วมรัฐบาลห้ามแก้ มาตรา 112 อย่างนี้พรรคก้าวไกลก็ไม่ร่วม ทั้งเชื่อว่าครั้งนี้ถ้าจะเสนอแก้ไข พรรคก้าวไกลไม่โดดเดี่ยว และอยากให้คุยในสภาอย่างมีวุฒิภาวะ โดยเสนอลลดโทษ 3-5 ปี เหลือ 1 ปี ใครฟ้องก็ได้แบบนี้ไม่เอา และเอา มาตรา 112 ออกจากความมั่นคง รวมทั้งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีแค่พรรคก้าวไกลที่เสนอแก้ไขมาตรา 112 แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยรับข้อเสนอ คณะกรรมการปรองดองฯในขณะนั้น ที่ชี้ว่าการจะสร้างความปรองดองต้องแก้ไขมาตรา 112 ด้วย
ทำไมต้องแก้ตอนนี้ เพราะต้องการยุติระเบิดเวลา และไม่ต้องการให้เป็นลูกของผม หรือลูกของท่านที่จะต้องไปอดอาหาร ถูกยิงลูกตา เพราะรู้ได้อย่างไรว่าหากไม่ยุติตอนนี้แล้วปล่อยไปเรื่อยๆจะเกิดอะไรขึ้น
ส่วน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการนโยบาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความคิดเห็นต่าง ที่เราสนับสนุนให้เอาไปพูดคุยในสภา ถึงเวลานั้นผู้แทนประชาชนจะบอกว่าถึงเวลาหรือยัง และแก้ไขในหมวดไหน
ด้าน อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า สิทธิในการเสนอกฎหมาย ส.ส.20 คนก็เสนอได้แล้ว แต่ถ้าถามว่าตนโหวตอย่างไร ตนโหวตไม่แก้ เพราะคนที่เสนอกฎหมายก็มีสิทธิแต่ตนก็มีสิทธิที่จะไม่โหวตแก้ ซึ่งตนตั้งใจว่าจะไม่ใช่ ม.112 ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ไม่อยากแก้ในช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนแบบนี้
ส่วน เกียรติ สิทธีอมร กรรมการนโยบายเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ มองย้อนมุมว่า มาตรา 112 เหมือนกฎหมายในหลายประเทศ ที่มีกฎหมายพิเศษดูแลประมุขของประเทศ เพราะไม่มีทางไปดำเนินคดีประชาชนด้วยตัวเอง สหรัฐก็มี ถ้าจะแก้ถามว่าแก้เพื่ออะไร หากแก้เพื่อสถาบันเข้มแข็งขึ้น อย่างนี้ไปได้ แต่ก่อนหน้านี้บอกยกเลิก แต่วันนี้บอกแก้ไข เลยไม่รู้ว่าในที่สุดจะเป็นอย่างไรแน่ หากจะแก้ต้องแก้ในบรรยากาศที่ไม่ใช่ประเด็นขัดแย้งทางการเมือง แต่บรรยากาศวันนี้ไม่มีทาง และเรื่องมาตรา 112 ไม่ควรนำมาเป็นนโยบายหาเสียง
ตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์เสนอแก้ไข ม.112 เพราะเห็นว่าการบังคับใช้เป็นปัญหา ไม่ใช่กฎหมายมีปัญหา ซึ่งแก้ไขได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมาย มีการตั้งกรรมการกลั่นกลอง ซึ่งแก้ปัญหา 70-80% ของความไม่ชัดเจนและความไม่กล้าดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ ยืนยันปัญหาในการบังคับใช้จะมี แต่แก้ได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมาย
ตามด้วย วิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่บอกว่า เชื่อว่าเรื่องนี้จะทำให้เกิดความขัดแย้งอีกรอบ และตนไม่เข้าใจว่าเรื่องนี้เร่งด่วนตรงไหน มีอะไรที่ทำให้ปากท้องอิ่ม หรือค่าไฟลด ทำไมต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา และที่กลัวที่สุดคือการตีตราหน้าคนว่าคนนี้เป็นประชาธิปไตย คนนี้เป็นเผด็จการ คิดว่าอย่าตีตราง่ายๆ โอ้อวดว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะการเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องการยอมรับเสียงข้างมาก แต่ถ้าฉันจะเอาอย่างนี้ใครไม่เอาด้วย แบบนั้นคือเผด็จการ
ขณะที่ น.ต.ศิธา ทิวารี แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า การตีตราที่ว่าคนที่อยากแก้ มาตรา112 คือคนไม่จงรักภักดีสถาบัน อันนี้เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง ซึ่งตนยืนยันว่ายึดมั่นในระบบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งนี้ถ้าเราไปตีตราว่า มาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา เกี่ยวพันกับสถาบัน การที่เด็กอยากแก้ มาตรา112 นั้น หากผู้ใหญ่เห็นว่าเด็กถูกปั่นหัวควรไปคุยกับเขา ไม่ควรจับเขาขังคุก
ที่ผมกังวลคือเมื่อก่อนความเห็นเกี่ยวกับ มาตรา112 น้อยกว่าปัจจุบันหลายเท่า แต่ความแตกต่างบนล่างตามอายุน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ซึ่งคนที่จะยืนยันเรื่อง มาตรา112 แล้วไม่พูดคุยกับเด็กจะล้มหายตายจากไปทุกวัน ดังนั้นการที่คุณจะรักษามาตรานี้ไว้ รักษาสถาบันไว้ ไม่สามารถทำให้ยั่งยืน เพราะเด็กมีความคิดแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่แก้ไขตั้งแต่วันนี้ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่ผมเสนอจะทำให้สถาบันยั่งยืนกว่าทุกวันนี้
ส่วน สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ บอกว่า เรื่อง มาตรา112 เป็นความละเอียดอ่อน หากจะพูดเรื่องนี้ควรจะต้องดูการบังคับใช้กฎหมายว่าอะไรพึงกระทำได้ อะไรไม่พึงกระทำ ซึ่งการพูดถึงเรื่องนี้พรรคพลังประชารัฐเห็นว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งทางการเมือง นำมาสู่ความเห็นต่าง ซึ่งพรรคพลังประชารัฐมรจุดยืนไม่แก้ มาตรา112