ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
เมื่อคืนนี้ สหรัฐรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจทั้ง 12 เขต หรือ Beige Book โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐประสบภาวะชะงักงันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการจ้างงานชะลอตัวลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หลังเกิดวิกฤตภาคธนาคารในช่วงที่ผ่านมา
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนตลอดสัปดาห์ก่อนประชุมเฟด
นอกจากนี้ สหรัฐยังได้เปิดเผยยอดขายบ้านมือสองปรับตัวลงในเดือนมี.ค. ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดพุ่ง 200 บาท ฟื้นตัวตามต่างประเทศ คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
แบงก์สหรัฐฯวุ่น คนแห่ถอนเงิน เฟด อัดฉีดงบดุลสู้ คาดหนุนตลาดหุ้นฟื้น
แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า นักลงทุนซื้อบอนด์หลังบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโดยรวม, รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดที่ออกมาแย่กว่าคาด รวมถึง ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ซึ่งเริ่มมีการส่งสัญญาณว่ารอบการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดใกล้สิ้นสุดลงแล้ว ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงสู่ระดับ 3.54%
ส่วนเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน แต่โดยรวมอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) แกว่งตัวใกล้ระดับ 101.8 จุด หลังนักลงทุนมองว่า ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอลงมากขึ้น อาจทำให้เฟดใกล้จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็สอดคล้องกับถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วน ที่แม้จะสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤษภาคม แต่ก็ออกมาระบุว่า รอบการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดใกล้สิ้นสุดลง
ส่วนทองคำในตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.ปรับตัวขึ้นจากโซนแนวรับแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สู่โซนราคาแถว 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นแนวต้านแรกในช่วงระยะสั้น ก่อนที่จะเผชิญแรงขายทำกำไรของผู้เล่นบางส่วน ทำให้ราคาทองคำย่อลงบ้างสู่ระดับ 2,016 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวโน้มค่าเงินบาท มีแรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ เนื่องจากบรรยากาศในตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ซึ่งมีโอกาสที่จะเห็นแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่องได้ แต่การอ่อนค่าของเงินบาทอาจติดอยู่ในโซนแนวต้านแถว 34.50 บาทต่อดอลลาร์